เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

8. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมทั้งหลายอยู่ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อ
ละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความ
บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
9. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษา
ตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
10. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
นี้ คือธรรม 10 ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม 10 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ กสิณายตนะ1 (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) 10 ได้แก่
1. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
2. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ...
3. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ...
4. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ...

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 346 หน้า 361 ในเล่มนี้, และดูเทียบข้อ 346 หน้า 361 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :429 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

5. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ...
6. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ...
7. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ...
8. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ...
9. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ...
10. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน
เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 10 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อายตนะ 10 ได้แก่

1. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
2. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
3. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
4. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
5. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
6. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
7. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
8. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
9. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
10. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ)

นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 10 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ มิจฉัตตะ1(ความเป็นธรรมที่ผิด) 10 ได้แก่

1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/132/282

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :430 }